
สถานที่จัดการประชุม
คณะศิลปศาสตร์ มทร.ศรีวิชัยหลักการและเหตุผล
การทำวิจัยเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยและถือเป็นกลไกสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและประเทศ ผลงานวิทยานิพนธ์
การค้นคว้าอิสระและงานวิจัยของนักศึกษานับว่า มีความสำคัญยิ่ง เป็นแหล่งข้อมูลและองค์ความรู้ที่มีคุณค่า สามารถพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้ต่อไป
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา คณะศิลปศาสตร์ได้สร้างบัณฑิตเป็นจำนวนหลายพันคนซึ่งถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ผลิตบัณฑิตด้านศิลปศาสตร์ ที่มีศักยภาพแห่งหนึ่งของภาคใต้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2566 ฝ่ายวิชาการและวิจัย คณะศิลปศาสตร์ จึงมีแนวคิดในการจัดประชุมวิชาการในรูปแบบออนไลน์เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์คณะศิลปศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย และเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์ โครงงาน หรือการศึกษาอิสระ โดยกำหนดรูปแบบในการจัดงาน ดังนี้
1. การประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 8 "ศาสตร์บูรณาการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน"
8th Liberal Arts National Conference: Integrated Disciplines and Research for Sustainable Development (LANC 2023)
2. The 3rd Liberal Arts International Conference: (The 3rd LAIC 2023) “Global Classroom: Now and Next”
3. การประกวดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้อันได้มาจากกระบวนการวิจัยของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยและมหาลัยอื่น ๆ
ทั้งของรัฐและเอกชน รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่างประเทศเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ระหว่าง นักศึกษา คณาจารย์ และนักวิชาการ ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยเพื่อนำมาแก้ไขปัญหาและพัฒนาหน่วยงานต่าง ๆ
ตลอดจนสังคมและประเทศชาติให้ขับเคลื่อนไปอย่างมีศักยภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายการทำงานวิจัยร่วมระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
สาขาของการนำเสนอ
- การท่องเที่ยวและโรงแรม
- คหกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์การอาหาร
- ภาษาต่างประเทศ
- มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
- วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
รูปแบบของการนำเสนอ
- การนำเสนอแบบบรรยาย (Oral presentation)
- การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster presentation)
- การประกวดสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และผลงานสร้างสรรค์
นำเสนอด้วย Power Point (เวอร์ชั่น 2013 หรือสูงกว่า) โดยมีเวลาในการนำเสนอเรื่องละ 15 นาที (รวมเวลาถาม – ตอบ)
การนำเสนอด้วยโปสเตอร์ (Poster presentation)
- ผู้นำเสนอต้องยืนประจำที่โปสเตอร์เพื่อนำเสนอตามเวลาที่กำหนดให้
- ให้จัดทำโปสเตอร์ขนาด 90×100 ซม (แนวตั้ง) โดยสามารถนำเสนอด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ
- เนื้อหาโปสเตอร์ประกอบด้วย บทคัดย่อ บทนำ (Introduction) วัตถุประสงค์ (Objectives) วิธีการวิจัย (Methods) ผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัย (Results and Discussions) และข้อสรุป (Conclusions)
- ผู้ประกวดต้องยืนประจำจุดแสดงผลงาน และนำเสนอในเวลาที่กำหนด
กำหนดการลงทะเบียนและส่งบทความวิจัย
รายละเอียด |
---|
1 มี.ค. 2566 - ขยายเวลารับบทคัดย่อถึงวันที่ 15 มิ.ย. 2566 |
30 มิ.ย. 66 ประกาศผลการพิจารณาบทคัดย่อ |
1-15 ก.ค. 66 การส่งบทความฉบับสมบูรณ์ |
3-4 ส.ค. 2566 การประชุมวิชาการระดับชาติด้านศิลปศาสตร์ ครั้งที่ 8 |
อัตราค่าลงทะเบียน
มัธยม/ปริญญาตรี | บุคลากรภายใน | บุคคลทั่วไป | |
---|---|---|---|
เข้าร่วมฟังการนำเสนอ | 500.- | 1,500.- | 2,500.- |
นำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ และภาคบรรยาย |
800.- | 2,000.- | 3,500.- |
รายละเอียดหมายเลขบัญชีในการชำระค่าลงทะเบียน

ดาวน์โหลดเอกสารแนะนำและตัวอย่าง
เอกสารประมวลบทความ (Proceeding)
ข้อมูลผู้ประสานงานการนำเสนอผลงานภาคบรรยายและโปสเตอร์
รายละเอียด |
---|
ผศ.ดร.โกสินทร์ ทีปรักษพันธ์ โทรศัพท์ : 091-049-8885 อีเมล์ : kosin.t@rmutsv.ac.th |