หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการโรงแรม
รหัสและชื่อหลักสูตร
รหัสหลักสูตร 25551971101484
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการโรงแรม
ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Program in Hotel
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต (การโรงแรม)
ชื่อย่อภาษาไทย ศศ.บ. (การโรงแรม)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Hotel)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Hotel)
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 132 หน่วยกิต
รูปแบบของหลักสูตร
1 รูปแบบ หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรทางวิชาการ
3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุกรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ
4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและ/หรือนักศึกษาต่างชาติที่เข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี
5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมบริการ
2. ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการโรงแรม
3. ผู้สอนด้านการโรงแรม
4. เจ้าหน้าที่ภาครัฐและเอกชนด้านการโรงแรมและการท่องเที่ยว
5. ผู้ให้บริการด้านการโรงแรมและที่พักประเภทต่างๆ
6. พนักงานบริการในภัตตาคารและร้านอาหาร
7. พนักงานบริการในธุรกิจสปา
8. พนักงานต้อนรับประจำสายการบิน
9. เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านการโรงแรมที่มีสมรรถนะตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ มีความรอบรู้ทางด้านเทคโนโลยี ทฤษฎีและทักษะปฏิบัติตามหลักสากล และมีทัศนคติที่ดีในงานโรงแรมตลอดจน มีคุณธรรมจริยธรรมและจิตบริการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
- มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตบริการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
- มีความรอบรู้ทางวิชาการ และทักษะทางวิชาชีพในศาสตร์ทางการโรงแรม
- ประยุกต์ใช้ทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้ความรู้เหตุผลและวิจารณญาณอย่างเหมาะสม
- มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้บริการ และบริหารจัดการเทียบเท่ากับมาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพในภูมิภาคอื่น
- มีบุคลิกภาพดีสามารถทํางานร่วมกับผู้อื่นในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเอง ทั้งด้านความรู้และทักษะวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
- ประยุกต์ใช้ทักษะสากลและทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศในการทำงานในวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงมีทักษะการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม เพื่อให้สามารถทำงานในบริบทสากลและสังคมพหุวัฒนธรรมได้
- ใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน การจัดการ และการพัฒนา
- ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ การแปลความหมาย นำเสนอในรูปแบบที่เหมาะสม ตามแนวทางกระบวนการวิจัย
โครงสร้างการบริหารหลักสูตร
หัวหน้าหลักสูตร
ดร.นุชเนตร กาฬสมุทร์
อาจารย์ประจำหลักสูตร
อาจารย์ชญาดา เฉลียวพรหม
ดร.ธิดาพร เรืองเริงกุลฤทธิ์
ผศ.รวิวรรณ พวงสอน
อาจารย์กาญจนพัฐ กลับทับลัง
อาจารย์กานต์พิชชา ดุลยะลา
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการท่องเที่ยว
1. รหัสและชื่อหลักสูตร
ชื่อภาษาไทย หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยว
ชื่อภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts Program in Tourism
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็มภาษาไทย ศิลปศาสตรบัณฑิต (การท่องเที่ยว)
ชื่อย่อภาษาไทย ศศ.บ. (การท่องเที่ยว)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ Bachelor of Arts (Tourism)
ชื่อย่อภาษาอังกฤษ B.A. (Tourism)
3. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
ไม่น้อยกว่า 131 หน่วยกิต
4. รูปแบบของหลักสูตร
4.1 รูปแบบ หลักสูตรปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี
4.2 ประเภทของหลักสูตร หลักสูตรทางวิชาการ
4.3 ภาษาที่ใช้ ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุกรายวิชา
4.4 การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและ/หรือนักศึกษาต่างชาติที่เข้าใจภาษาไทยได้เป็นอย่างดี
4.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย
4.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว
5. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. มัคคุเทศก์
2. ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว
3. เจ้าหน้าที่สายการบิน
4. เจ้าหน้าที่ศูนย์ประชุม การจัดสัมมนา และอีเวนต์
5. พนักงานในโรงแรม ที่พัก และธุรกิจบริการ
6. เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐทางการท่องเที่ยว
7. ผู้สอนด้านการท่องเที่ยว
6. อาจารย์ผู้รับผิดชอบและผู้สอนประจำหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว
โครงสร้างการบริหารหลักสูตรสาขาวิชาการท่องเที่ยว
7. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
7.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านการท่องเที่ยวที่มีความรู้ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ กับวิชาชีพที่เน้นการบริการที่เป็นมาตรฐาน ใช้ทักษะด้านภาษาต่างประเทศและด้านดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรมและเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ
7.2 ความสำคัญของหลักสูตร
สาขาวิชาการท่องเที่ยวเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ภาคทฤษฎีและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถในการสื่อสารด้านภาษาต่างประเทศในงานการท่องเที่ยวและสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม เพื่อให้บัณฑิตเกิดความรู้และความสามารถในการบูรณาการด้านความรู้กับศาสตร์แขนงอื่นๆ อันนำไปสู่การจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาผู้เรียนให้มีบุคลิกภาพ คุณลักษณะและมาตรฐานที่เป็นที่ต้องการของสังคมในระดับประเทศและนานาชาติ
7.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะ ดังนี้
1.3.1 มีคุณธรรม จริยธรรม จิตบริการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.2 มีความรอบรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพ มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้บริการ และบริหารจัดการเทียบเท่ามาตรฐานสมรรถนะทางวิชาชีพในภูมิภาคอื่นของโลก
1.3.3 มีทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เหตุผลและวิจารณญาณอย่างเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในงานการท่องเที่ยว
1.3.4 มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทุกระดับอย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ ทักษะวิชาชีพ และคุณธรรมอย่างต่อเนื่อง
1.3.5 มีประสิทธิภาพในการใช้ระบบดิจิทัลและภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษา รวมทั้งสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
13.6 มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน การจัดการ และการพัฒนา