Name of Institution: Rajamangala University of Technology Srivijaya
Department: Creative Home Economics
Campus/Faculty/Department: Faculty of Liberal Arts, Department of Home Economics
General Information
- Course Code and Name.
- Course Code: 25511971101851
- Name in Thai: หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์
- Name in English: Bachelor of Home Economics Program in Creative Home Economics
- Degree and Field of Study
- Full Name in Thai: คหกรรมศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์)
- Abbreviated Name in Thai: คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์)
- Full Name in English: Bachelor of Home Economics (Creative Home Economics)
- Abbreviated Name in English: B.H.E. (Creative Home Economics)
3. Major: None
4. Total Credits Required: Not less than 122 credits
- Course Format
- Format: 4-year Bachelor’s degree program
- Type: Academic program
- Language: Thai and English, with at least 50% of specific courses taught in English
- Admission: Open to Thai and/or international students proficient in Thai
- Collaboration with Other Institutions: Exclusive program of the university
- Degree Conferred: Only one degree in the specified field
- Career Opportunities after Graduation
- Entrepreneur in home economics
- Employee in public and private sectors
- Academic professional in various institutions
- Home economics instructor
7. Course Instructor
No. | Name | Academic Position | Qualification/Field/Year of Graduation | Institution |
1 | นางสาวนันทิพย์ หาสิน | อาจารย์ | ศศ.ม. (คหกรรมศาสตรศึกษา), 2559คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์ทั่วไป-ธุรกิจงานประดิษฐ์), 2552 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี |
2 | นางฉัตรดาว ไชยหล่อ | อาจารย์ | ศศ.ม. (คหกรรมศาสตรศึกษา), 2548คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์ศึกษา-คหกรรมศาสตร์ทั่วไป), 2545 | มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้ |
3 | นางสาวติณณา อุดม | อาจารย์ | คศ.ม. (ออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย) , 2561คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์ -ธุรกิจเสื้อผ้า) , 2555 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
4 | นางสาวน้ำฝน ชูพูล | อาจารย์ | วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดและการบริการอาหาร), 2560คศ.บ.(ธุรกิจอาหาร), 2555 | สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ |
5 | นายอภิสิทธิ์ หลังโส๊ะ | อาจารย์ | คศ.ม. (การบริหารธุรกิจ คหกรรมศาสตร์), 2563คศ.บ. (ธุรกิจคหกรรมศาสตร์) , 2560 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย |
ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร
1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1.1 ปรัชญา
ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์งานคหกรรมศาสตร์ มีการจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมด้านการออกแบบ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 ความสำคัญของหลักสูตร
เนื่องจากสภาวะทางเศษฐกิจ SMEs (Small and Medium Enterprises) หรือ อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ถือเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจหลักในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศให้เกิดการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมไปกับแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่า เป็นเศรษฐกิจที่เน้นปัจจัยการผลิต (Input) และผลผลิต (Output) อยู่ในรูปของความคิด (Ideas) หรือ Creative Industries ซึ่งหมายถึงอุตสาหกรรมที่เป็นผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และความสามารถพิเศษของบุคคล ซึ่งสามารถใช้หาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่งคั่งและสร้างงาน ผ่านการสั่งสมและการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดและวิกฤติเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดการรวมตัวของประเทศกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค
หลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ ปรับปรุงให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน โดยยังคงเน้นให้ก่อเกิดการเรียนการสอนในแนวความคิดสร้างสรรค์ ฝึกทักษะ และเน้นความสามารถพิเศษของบุคคล โดยยังคงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยในงาน คหกรรมศาสตร์แต่ละแขนงให้สอดคล้องกับแนวความคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยการพัฒนาทักษะความชำนาญในการสร้างสรรค์ นำความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์มาเชื่อมโยงเทคโนโลยี นวัตกรรม กับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและเพิ่มทักษะการออกแบบ โดยใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพ ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน
1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิต ให้สามารถวิเคราะห์เชิงธุรกิจ เพื่อพัฒนางานด้านคหกรรมศาสตร์ตามระเบียบวิธี วิจัย รู้จักการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสากลอย่างมีคุณภาพ
1.3.2 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการออกแบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การวางแผนและบริหารจัดการงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิต ให้เป็นบุคลากรทีมีความพร้อมในการเป็นผู้นํา มีความชํานาญสามารถนํา ความรู้ไปประกอบอาชีพด้านสาขาคหกรรมศาสตร์ให้ได้ผลสัมฤทธิ์สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงาน
1.3.4 ปลูกฝังให้บัณฑิตมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสํานึก ต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถทำงานร่วมกับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ