หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา    มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 

สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์

วิทยาเขต/คณะ/สาขา    คณะศิลปศาสตร์  สาขาคหกรรมศาสตร์  

ข้อมูลทั่วไป

1.    รหัสและชื่อหลักสูตร

    รหัสหลักสูตร         25511971101851

    ชื่อภาษาไทย    หลักสูตรคหกรรมศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์

    ชื่อภาษาอังกฤษ    Bachelor of Home Economics  Program 

                          in Creative Home Economics

2.    ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

    ชื่อเต็มภาษาไทย    คหกรรมศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์)

    ชื่อย่อภาษาไทย    คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์)

    ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ    Bachelor of Home Economics  

                                       (Creative Home Economics)

    ชื่อย่อภาษาอังกฤษ    B.H.E.  (Creative Home Economics)

3.    วิชาเอก ไม่มี

4.    จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

    ไม่น้อยกว่า 122 หน่วยกิต

5.    รูปแบบของหลักสูตร

    5.1    รูปแบบ   หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

    5.2    ประเภทของหลักสูตร   หลักสูตรทางวิชาการ  

    5.3    ภาษาที่ใช้   ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 

                       ของทุกรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ

    5.4    การรับเข้าศึกษา   รับนักศึกษาไทยและ/หรือนักศึกษาต่างชาติที่เข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี

    5.5    ความร่วมมือกับสถาบันอื่น   เป็นหลักสูตรเฉพาะของมหาวิทยาลัย

    5.6    การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา   ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

6.    อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

    1)  ผู้ประกอบการธุรกิจทางด้านคหกรรมศาสตร์

    2)  พนักงานในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน 

    3)  นักวิชาการในหน่วยงานต่าง ๆ

    4)  ผู้สอนด้านคหกรรมศาสตร์

7.    อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ลำดับชื่อ–สกุล/เลขประจำตัวประชาชนตำแหน่งทางวิชาการคุณวุฒิ/สาขาวิชา/ปีที่จบสถาบันที่จบ
1นางสาวนันทิพย์ หาสินอาจารย์ศศ.ม. (คหกรรมศาสตรศึกษา), 2559คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์ทั่วไป-ธุรกิจงานประดิษฐ์), 2552มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
2นางฉัตรดาว  ไชยหล่ออาจารย์ศศ.ม. (คหกรรมศาสตรศึกษา), 2548คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์ศึกษา-คหกรรมศาสตร์ทั่วไป), 2545มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตภาคใต้
3นางสาวติณณา  อุดมอาจารย์คศ.ม. (ออกแบบแฟชั่นผ้าและเครื่องแต่งกาย) , 2561คศ.บ. (คหกรรมศาสตร์ -ธุรกิจเสื้อผ้า) , 2555มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
4นางสาวน้ำฝน ชูพูลอาจารย์วท.ม. (เทคโนโลยีการจัดและการบริการอาหาร), 2560คศ.บ.(ธุรกิจอาหาร), 2555สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
5นายอภิสิทธิ์  หลังโส๊ะอาจารย์คศ.ม. (การบริหารธุรกิจ  คหกรรมศาสตร์), 2563คศ.บ. (ธุรกิจคหกรรมศาสตร์) , 2560มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนครมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

  ข้อมูลเฉพาะของหลักสูตร

1.    ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1.1    ปรัชญา

        ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติด้านคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความคิดสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์งานคหกรรมศาสตร์ มีการจัดการอย่างเป็นระบบ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศ นวัตกรรมด้านการออกแบบ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    1.2    ความสำคัญของหลักสูตร 

    เนื่องจากสภาวะทางเศษฐกิจ SMEs (Small and Medium Enterprises)  หรือ อุตสาหกรรมขนาดกลางและย่อม ถือเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นหัวใจหลักในการพัฒนา เศรษฐกิจของประเทศให้เกิดการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และการใช้ความคิดสร้างสรรค์ร่วมไปกับแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างมูลค่า เป็นเศรษฐกิจที่เน้นปัจจัยการผลิต (Input) และผลผลิต (Output)  อยู่ในรูปของความคิด (Ideas) หรือ Creative Industries  ซึ่งหมายถึงอุตสาหกรรมที่เป็นผลผลิตของความคิดสร้างสรรค์ ทักษะ และความสามารถพิเศษของบุคคล ซึ่งสามารถใช้หาประโยชน์ทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่งคั่งและสร้างงาน ผ่านการสั่งสมและการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญาประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดและวิกฤติเศรษฐกิจโลกก่อให้เกิดการรวมตัวของประเทศกลุ่มเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค

     หลักสูตรสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์สร้างสรรค์ คณะศิลปศาสตร์ ปรับปรุงให้สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน โดยยังคงเน้นให้ก่อเกิดการเรียนการสอนในแนวความคิดสร้างสรรค์    ฝึกทักษะ และเน้นความสามารถพิเศษของบุคคล โดยยังคงเอกลักษณ์แห่งความเป็นไทยในงาน       คหกรรมศาสตร์แต่ละแขนงให้สอดคล้องกับแนวความคิดด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยการพัฒนาทักษะความชำนาญในการสร้างสรรค์ นำความรู้ด้านคหกรรมศาสตร์มาเชื่อมโยงเทคโนโลยี นวัตกรรม กับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและเพิ่มทักษะการออกแบบ โดยใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ส่งเสริมและพัฒนาบัณฑิตให้มีศักยภาพ ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีใหม่ ๆ พร้อมสู่การแข่งขันในตลาดแรงงาน 

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 

        เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้

        1.3.1    เพื่อผลิตบัณฑิต ให้สามารถวิเคราะห์เชิงธุรกิจ  เพื่อพัฒนางานด้านคหกรรมศาสตร์ตามระเบียบวิธี วิจัย รู้จักการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นสากลอย่างมีคุณภาพ

        1.3.2    มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางการออกแบบ และเทคโนโลยีสารสนเทศ การวางแผนและบริหารจัดการงานอย่างเป็นระบบ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิต ให้เป็นบุคลากรทีมีความพร้อมในการเป็นผู้นํา  มีความชํานาญสามารถนํา ความรู้ไปประกอบอาชีพด้านสาขาคหกรรมศาสตร์ให้ได้ผลสัมฤทธิ์สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงาน

         1.3.4 ปลูกฝังให้บัณฑิตมีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีคุณธรรมและจริยธรรม มีจิตสํานึก  ต่อจรรยาบรรณในวิชาชีพ สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถทำงานร่วมกับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ